พายุไต้ฝุ่นชาทาอาน (พ.ศ. 2545)

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2545 เป็นฤดูกาลในอดีตที่เคยมีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ฤดูกาลดังกล่าวจะลากยาวตลอด พ.ศ. 2545 ในฤดูกาลนี้พายุหลายลูกส่งผลกระทบกับประเทศญี่ปุ่นและจีน และมีพายุหมุนเขตร้อนในทุกเดือน โดยพายุหมุนส่วนใหญ่จะก่อตัวขึ้นระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ในภาพรวม มีพายุดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวขึ้นรวม 44 ลูก ในจำนวนนี้ 26 ลูกพัฒนาเป็นพายุโซนร้อน และได้รับชื่อ ในจำนวนพายุโซนร้อน มีพายุ 15 ลูกพัฒนาขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่น และในจำนวนพายุไต้ฝุ่นนั้นมีพายุไต้ฝุ่นจำนวน 8 ลูกที่เป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นตามการจัดความรุนแรงของ JTWCฤดูกาลนี้เริ่มต้นด้วยพายุลูกแรกชื่อ ตาปะฮ์ ก่อตัวขึ้นทางด้านตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์เมื่อวันที่ 10 มกราคม อีกสองเดือนให้หลังพายุไต้ฝุ่นมิแทก เป็นพายุไต้ฝุ่นลูกแรกที่เป็นได้ถึงพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น[nb 1] ต่อมาในเดือนมิถุนายน พายุไต้ฝุ่นชาทาอาน ส่งผลกระทบต่อสหพันธรัฐไมโครนีเชีย โดยทำให้มีปริมาณน้ำฝนตกปริมาณมหาศาล ทำให้มีผู้เสียชีวิต 48 คน และถือเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่มีจำนวนผู้เสียชีวิตมากที่สุดของรัฐชุก หลังจากนั้นชาทาอานได้ส่งผลกระทบต่อกวม ก่อนจะส่งผลกระทบกับประเทศญี่ปุ่นต่อไป ในเดือนสิงหาคม พายุไต้ฝุ่นรูซา กลายเป็นพายุไต้ฝุ่นที่ทำให้มีจำนวนผู้เสียชีวิตมากที่สุดของประเทศเกาหลีใต้ในรอบ 43 ปี โดยทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 238 คน และสร้างความเสียหายกว่า 4.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[nb 2] พายุไต้ฝุ่นฮีโกสในเดือนตุลาคม เป็นพายุไต้ฝุ่นที่มีความรุนแรงเป็นอันดับที่สาม ในบรรดาพายุที่พัดเข้ากรุงโตเกียว ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง ส่วนพายุไต้ฝุ่นลูกสุดท้ายของฤดูกาลคือ พายุไต้ฝุ่นพงซ็อนฮวา ซึ่งเป็นหนึ่งในพายุไต้ฝุ่นที่สร้างความเสียหายจำนวนมากให้กับเกาะกวม โดยสร้างความเสียหายถึง 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐกับเกาะกวม และสลายตัวไปในวันที่ 11 ธันวาคมขอบเขตของบทความนี้จำกัดเฉพาะมหาสมุทรแปซิฟิกที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ระหว่างเมอริเดียนที่ 100 และ 180 ตะวันออก ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ มีสองหน่วยงานที่กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งอาจเป็นผลให้พายุลูกหนึ่งมีสองชื่อ กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) จะตั้งชื่อพายุถ้าพายุลูกนั้นมีความเร็วลมที่รอบศูนย์กลางพายุที่สูงสุด 10 นาที อย่างน้อย 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ใดในแอ่ง ขณะที่สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งเคลื่อนเข้าสู่หรือก่อตัวขึ้นเป็นดีเปรสชันเขตร้อนในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานฯ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างลองติจูด 135 และ 115 องศาตะวันออก และระหว่างละติจูด 5 ถึง 25 องศาเหนือ แม้พายุนั้นจะมีชื่อที่กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นตั้งแล้วก็ตาม นอกจากนี้พายุดีเปรสชันเขตร้อนซึ่งถูกเฝ้าติดตามโดยศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ของสหรัฐยังได้รับการกำหนดหมายเลขและเติมตัวอักษร "W" ต่อท้ายเป็นรหัสเรียกด้วย

พายุไต้ฝุ่นชาทาอาน (พ.ศ. 2545)

• ความกดอากาศต่ำที่สุด 920 hPa (มิลลิบาร์)
ผู้เสียชีวิตทั้งหมด 725 คน
พายุโซนร้อนทั้งหมด 26 ลูก
• ลมแรงสูงสุด 185 กม./ชม. (115 ไมล์/ชม.)
(เฉลี่ย 10 นาที)
ความเสียหายทั้งหมด 9.54 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ค่าเงิน USD ปี 2002)
พายุไต้ฝุ่น 15 ลูก
พายุดีเปรสชันทั้งหมด ทางการ 43 ลูก,ไม่เป็นทางการ 1 ลูก
ระบบแรกก่อตัว 10 มกราคม พ.ศ. 2545
ชื่อ เฟิงเฉิน
ระบบสุดท้ายสลายตัว 29 ธันวาคม พ.ศ. 2545
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น 8 ลูก (ไม่เป็นทางการ)[nb 1]